มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ราชภัฏอันดับ 1 ของไทย
Suan Sunandha Rajabhat University
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9
ตรา "ส มงกุฎ" ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
ปรัชญา & เป้าหมายและวิสัยทัศน์
-
ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
-
เป้าหมายและวิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน
อัตลักษณ์และเอกลักษณ์
-
อัตลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
-
เอกลักษณ์ เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
-
ร่มโพธิ์ทอง
-
มาร์ชสวนสุนันทา
สีประจำมหาวิทยาลัย
-
สีน้ำเงิน หมายถึง ความแข็งแกร่ง
-
สีชมพู หมายถึง สีแห่งความรัก
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ดอกแก้วเจ้าจอม
ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525
P7125445Describe your image. | 5555888888888888888888Describe your image. |
---|---|
14531405317_b21fe4717f_oDescribe your image. | 1441531843-oDescribe your image. |
55555555Describe your image. | 3Describe your image. |
2Describe your image. | 1Describe your image. |
การจัดการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่
-
ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 2 ขวบ - อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
-
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป.1 - ป.6)
-
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม.1 - ม.6)
-
ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)
คณะ/วิทยาลัย
-
คณะครุศาสตร์
-
คณะวิทยาการจัดการ
-
คณะศิลปกรรมศาสตร์
-
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
-
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
-
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
-
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
-
วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
วิทยาลัยการปกครอง
หลักสูตรการศึกษา
1.ระดับปริญญาตรี
คณะครุศาสตร์หลักสูตร 4 ปี
-
สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
หลักสูตร 5 ปี
-
สาขาวิชาสังคมศึกษา
-
สาขาวิชาภาษาไทย
-
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
-
สาขาวิชาคณิตศาสตร์
-
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาการจัดการ
-
สาขาวิชาการบัญชี
-
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
-
สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
-
สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
-
สาขาวิชาการตลาด
-
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
-
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
-
สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
-
สาขาวิชาวารสารสนเทศ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาโฆษณาและการสื่อสารการตลาด (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาการภาพยนตร์และการสื่อสารการแสดง (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
สาขาวิชาการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
-
(อาจมีการจัดตั้งสาขาวิชาดิจิทอลทีวี เพิ่มเติมในอนาคต)
คณะศิลปกรรมศาสต
-
สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
-
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
-
สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
-
สาขาวิชาจิตรกรรม
-
สาขาวิชาดนตรี (ดนตรีไทย/ดนตรีสากล)
-
สาขาวิชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย, ศิลปะการละคร)
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร
-
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
-
สาขาวิชาออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
-
สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
-
สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและมัลติมิเดีย
-
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
-
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
-
สาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ
-
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
-
สาขาวิชาเคมี
-
สาขาวิชาชีววิทยา
-
สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
-
สาขาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (การจัดการฐานข้อมูล)
-
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (สื่อประสม)
-
สาขาสถิติประยุกต์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ภาควิชามนุษยศาสตร์
-
สาขาวิชาภาษาไทย
-
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
-
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
-
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
-
สาขาวิชาภาษาจีน
- ภาควิชาสังคมศาสตร์
-
สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
-
สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
-
สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ภาษาจีน,ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาฝรั่งเศส)
-
สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
-
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
-
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม
-
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
-
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
-
สาขาวิชานิติศาสตร์
-
สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (แขนงวิชา ธุรกิจนำเที่ยว,ธุรกิจการบิน,การประชุมนิทรรศการ และ อีก 2 สาขา)
วิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัย (เทียบเท่าคณะ โครงสร้างบริหารแบบมหาวิทยาลัยในกำกับ)
วิทยาลัยการปกครอง
-
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
-
สาขาการบริหารงานตำรวจ
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
-
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
-
สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
-
สาขาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และองค์การ
-
สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด
-
สาขารัฐศาสตร์
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
-
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
-
สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
-
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
-
สาขาวิชาการบริหารจัดการเครือข่ายร้านอาหาร
-
Global Supply Chain Management (English Program)
-
สาขาการจัดการการขนส่ง
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
-
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ)
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความงามและสปา
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพการกีฬา
-
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (จัดตั้งปีการศึกษา 2556)
วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Airline Business)
-
สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก (Hotel and Restaurant Business)
-
สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry)
-
สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (Hospitality and Tourism Management)
-
สาขาวิชาบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)
วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์ (Film Production)
-
สาขาวิชาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล(Creativity and Digital Media)
-
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและเกมส์(Computer Graphics and Games)
2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปริญญาโท
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย)
-
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการบริการสุขภาพ
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย)
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สาขาวิชา วิชาชีพครู
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
-
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารทั่วไป
-
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การปกครองท้องถิ่น
-
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการความมั่นคงปลอดภัย
-
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์เชิงยุทธศาสตร์
-
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชา วิชาชีพครู
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
-
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
-
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
-
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิชาชีพครู
-
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการเทคโนโลยี
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ศึกษาสารสนเทศ
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการและควบคุมมลพิษ
-
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารทั่วไป
-
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การปกครองท้องถิ่น
-
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ
-
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาศาสตร์
-
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ศิลปะการแสดง
-
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
3.ระดับปริญญาเอก
บัณฑิตวิทยาลัย
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาศาสตร์
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญาจริยศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการภาคธุรกิจ
โครงการดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาการเมือง)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาสังคม)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การบริการธุรกิจเฉพาะด้าน)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนานักบริหารระดับสูง)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาการศึกษา)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การบริหารงานยุติธรรม)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (วิธีวิทยาการวิจัย)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (จิตวิทยาให้คำปรึกษา)
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การจัดการคุณภาพ)
ส่วนงานทางวิชาการ
คณะ
-
คณะครุศาสตร์
-
ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย
-
โรงเรียนประถมสาธิตฯ สวนสุนันทา
-
โรงเรียนมัธยมสาธิตฯ สวนสุนันทา
-
-
คณะวิทยาการจัดการ
-
คณะศิลปกรรมศาสตร์
-
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาลัย (ส่วนงานเทียบเท่าคณะ โครงสร้างบริหารแบบมหาวิทยาลัยในกำกับ)
-
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
-
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
-
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
-
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
-
วิทยาลัยการภาพยนตร์ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
-
วิทยาลัยการปกครอง
-
บัณฑิตวิทยาลัย
-
โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
-
สถาบันภาษาศาสตร์
-
วิทยาเขต / ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิชาการ
-
วิทยาเขตศาลายา
-
วิทยาเขตระนอง
-
วิทยาเขตสมุทรสงคราม
-
วิทยาเขตอุดรธานี
-
โครงการก่อตั้งวิทยาเขตเชียงราย(เชียงของ)
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิชาการ สุพรรณบุรี (ด่านช้าง)
มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม)[ต้องการอ้างอิง]
-
ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
-
ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
-
ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
-
ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
-
ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
-
ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
-
ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
-
ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
-
ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
-
ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
-
ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
-
ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
ISO ISO/IEC 27001 : 2013 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.
== การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก ==
-
ล่าสุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ค.ศ.2013) ได้รับการจัดอันดับ Ranking Web of Universities อยู่ในอันดับที่ 21ของประเทศ อันดับที่ 1561 ของโลก อ้างอิงจาก Ranking Web of Universities